อีสานร้อยแปด

พจนานุกรมภาษาอีสาน

วันเสาร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2559

การเลี้ยงปลาหมอ

"ข่อยนี้คือดั่งปลาเข็งข่อน หนองนาน้ำเขินขาด คันแม่นฝนบ่มาหยาดให้ สิตายแล้งแดดเผา เจ้าเอย" ถ้าเว่าถึงปลาที่หาง่าย รสชาติอร่อย หนึ่งในนั้นก็ต้องมีปลาหมอ (ภาษาอีสานเรียกว่า ปลาเข็ง)  การเลี้ยงปลาหมอเป็นที่แพร่หลายมากขึ้น เนื่องจากปลาหมอในธรรมชาติที่ลดน้อยลง ซึ่งสวนทางกับความต้องการที่สูงขึ้น รสชาติที่มีความหอม เนื้อรสหวานและกลมกล่อม จึงทำให้เริ่มมีการเลี้ยงปลาหมอเชิงพานิชย์เกิดขึ้น  การเลี้ยงปลาหมอสามารถทำได้หลายวิธี ทั้งการเลี้ยงปลาหมอในบ่อซีเมนต์ การเลี้ยงปลาหมอในบ่อดิน หรือการเลี้ยงปลาหมอในกระชัง โดยเกษตรอีสานวันนี้จะนำหลักการเลี้ยงปลาหมอทั่วไปให้พี่น้องบ้านเฮาได้นำไปปรับใช้ให้เหมาะกับตัวเอง เพราะปลาหมอเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย กินง่าย ทนต่อสภาพแวดล้อม

ราคาปลาหมอ

ราคาปลาหมอ

ปลาหมอ

ปลาหมอ

ปลาหมอเป็นปลาเนื้อนุ่ม รสชาติอร่อย ลักษณะลำตัวป้อมค่อนข้างแบน สีน้ำตาลปนเหลืองดำ ถือว่าเป็นปลาน้ำจืดที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไม่น้อย เพราะเป็นที่ต้องการในตลาดเพื่อการบริโภคอย่างแพร่หลาย สามารถนำไปประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู ทั้งแกง ต้ม ทอด ย่าง  ปัจจุบันการเพาะเลี้ยงปลาหมอในไทย มีการพัฒนาสายพันธุ์ปลาหมอเพิ่มขึ้นมาหลายสายพันธุ์ เช่น ปลาหมอชุมพร ปลาหมอนา ปลาหมอสี  แม้ว่าจะยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก แต่กลับมีความต้องการส่งออกไปต่างประเทศค่อนข้างสูง ทั้งที่ในประเทศก็มีความต้องการมากเช่นกัน ดังนั้น  หากมีการส่งเสริมและพัฒนาความรู้เรื่องการเลี้ยงปลาหมอให้กับเกษตรกรได้  ก็จะมีส่วนช่วยพัฒนาเศรษฐกิจและยังทำให้กลุ่มเกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้นด้วย

เมนูปลาหมอทอด

เมนูปลาหมอทอด

การเลือกสถานที่เลี้ยงปลาหมอ

  • ควรเป็นดินเหนียวหรือดินเหนียวปนทราย เพื่อให้สามารถกักเก็บน้ำได้
  • อยู่ใกล้แหล่งน้ำธรรมชาติ เพื่อให้แน่ใจว่ามีน้ำเพียงพอตลอดทั้งปี

การเตรียมบ่อเลี้ยงปลาหมอ

เริ่มจากการเตรียมบ่อสำหรับการเลี้ยงปลาหมอ เป็นบ่อรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า 3 บ่อ ดังต่อไปนี้

  • บ่อสำหรับอนุบาลลูกปลาหมอนา ขนาด 6×7 เมตร
  • บ่อผสมพันธุ์ปลาหมอนา ขนาด 6×7 เมตร
  • บ่อสำหรับเลี้ยงปลาหมอนา ขนาด 6×7 เมตร
การเลี้ยงปลาหมอในบ่อดิน

การเลี้ยงปลาหมอในบ่อดิน

การเลี้ยงปลาหมอในบ่อพลาสติก

การเลี้ยงปลาหมอในบ่อพลาสติก

การเลี้ยงปลาหมอในวงบ่อปูนซีเมนต์

การเลี้ยงปลาหมอในวงบ่อปูนซีเมนต์

การคัดเลือกพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ปลาหมอ

พ่อพันธุ์ ควรมีลักษณะลำตัวยาวว่ายน้ำปราดเปรียว และในการคัดพ่อพันธุ์ให้ทำตอนเช้า หลังจากเปลี่ยนถ่ายน้ำก่อนให้อาหาร  พ่อพันธุ์ที่พร้อมการผสมพันธุ์บริเวณปลายหัวจะออกเป็นสีแดง เกล็ดนวลเงา ไม่เป็นแผล

แม่พันธุ์ ควรจะมีขนาดป้อมสั้น ลำตัวมีความยาวประมาณ 3 นิ้ว การคัดเลือกแม่พันธุ์ปลาหมอนาให้ทำตอนเช้า หลังจากเปลี่ยนถ่ายน้ำก่อนให้อาหารแม่พันธุ์ที่พร้อมจะมีลักษณะท้องบวมเป่ง แสดงว่ามีไข่ อวัยวะเพศมีสีแดงชมพูเรื่อ

พ่อพันธุ์แม่พันธุ์ปลาหมอ

พ่อพันธุ์แม่พันธุ์ปลาหมอ

การผสมพันธุ์ปลาหมอนา

ให้ทำการผสมพันธุ์กันในช่วงฤดูฝน คือระหว่างเดือน พ.ค.- ก.ค. ในบ่อผสมพันธุ์ควรใส่น้ำปริมาณความสูง 50-60 เซนติเมตร และหาผักบุ้งใส่ในบ่อด้วย เพื่อเป็นที่กำบังและซ่อนตัวเวลาฟักไข่  นำพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ปลาหมอนาอัตราส่วน ปลาหมอตัวเมีย 1 ตัว ต่อ ตัวผู้ 2 ตัว ลงในบ่อ เช่น แม่พันธุ์ 100 ตัว ต่อพ่อพันธุ์ 50 ตัว  แล้วปล่อยทิ้งไว้ให้ผสมพันธุ์กันเป็นเวลา 3 สัปดาห์ หลังจากนั้น ให้แยกพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ออกจากลูกปลาหมอที่ยังเป็น ลูกคอก

ปลาหมอโตเต็มวัย

ปลาหมอโตเต็มวัย

การให้อาหารและการอนุบาลลูกปลาหมอ

จัดการน้ำและอาหารธรรมชาติเข้าบ่อและกรองน้ำด้วยมุ้งตาถี่ ระดับน้ำ 50 เซนติเมตร ใช้ปลาป่นผสมรำละเอียดเป็นอาหารในช่วง 3วันแรก เริ่มให้ไข่ พอเริ่มวันที่ 4 ให้ไก่ต้มสุกเอาเฉพาะไข่แดงบดผ่านผ้าขาวบางผสมน้ำสาดทั่วบ่อ และอาหารผงสำเร็จรูปหรือรำละเอียดผสมปลาป่น อัตรา 1 ต่อ 1 หลังจากอนุบาล 3 สัปดาห์ ค่อยๆเพิ่มระดับน้ำเป็น 80 เซนติเมตร

ลูกปลาหมอ

ลูกปลาหมอ

การให้อาหารปลาหมอ

การให้อาหารปลาหมอ

การเปลี่ยนถ่ายน้ำในบ่อเลี้ยงปลาหมอ

ถึงแม้ปลาหมอจะเลี้ยงง่าย ทนต่อสภาพน้ำ แต่ก็ต้องมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำเพื่อให้ปลาเจริญเติบโตได้ดี และกินอาหารได้มากขึ้น  โดยเปลี่ยนถ่ายน้ำประมาณเดือนละ 2-3 ครั้ง ครั้งละ 1 ใน 3 ของปริมาณน้ำในบ่อ เพื่อให้ปลาปรับตัวได้ง่าย และประหยัดน้ำได้มากกว่าเปลี่ยนหมดทั้งบ่อ

การอนุบาลลูกปลาหมอ

การอนุบาลลูกปลาหมอ

ระยะเวลาและการจับปลาหมอ

โดยทั่วไปใช้เวลาเลี้ยง ประมาณ 90-120 วัน ถ้าจำหน่ายเมื่อโตเต็มที่ จะได้ราคาอย่างน้อยกิโลกรัมละ 150 บาท แต่ถ้าเลี้ยงเพื่อเพาะพันธุ์ลูกปลาขาย  ราคาทั่วไปที่จำหน่ายคือ ตัวละ 1 บาท

การจับปลาหมอเพื่อจำหน่าย

การจับปลาหมอเพื่อจำหน่าย

อีสานร้อยแปดขอแนะนำหนังสือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเลี้ยงปลาหมอ เป็นหนังสือที่มีคุณภาพ ข้อมูลทางวิชาการครบถ้วน จัดทำโดยกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ประกาศซื้อขายพันธุ์ปลาหมอ และอุปกรณ์การเลี้ยงปลาหมอ ฟรี ที่เว็บบอร์ดอีสานร้อยแปดดอทคอม

วันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2559

การปลูกมะนาว ออกลูกนอกฤดูกาล

"เกลี้ยงแต่นอกทางในเป็นหมากเดื่อ หวานนอกเนื้อในส้มดั่งหมากนาว" จังซี่กะว่าเนาะพี่น้องเอ้ย สวัสดีพี่น้องทุกท่านครับ อีสานร้อยแปดมาอีกแล้ว พบปะกันเป็นประจำ และมื้อนี้สิมาในเรื่อง การปลูกมะนาว วัตถุดิบสำคัญในการปรุงอาหารให้มีรสชาติจัดจ้าน  การปลูกมะนาวให้ได้ผลผลิตตามต้องการ และวิธีการปลูกมะนาวให้ประสบความสำเร็จ จะต้องมีปัจจัยหลายอย่างประกอบกัน ทั้งองค์ความรู้ สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ล่วนมีส่วนทำให้การปลูกมะนาวเป็นไปตามที่คาดหวัง

ปลูกมะนาวในครัวเรือน

ปลูกมะนาวในครัวเรือน

มะนาว เป็นพืชสมุนไพรอย่างหนึ่งที่ให้รสชาติในเรื่องของความเปรี้ยวถึงขีดสุด ผลของมะนาวเมื่อคั้นน้ำมะนาวออกมาก็จะได้รสชาติความเปรี้ยวแบบเต็มพิกัด  สามารถนำไปปรุงอาหารได้หลายเมนู ความเปรี้ยวของน้ำมะนาวจะให้ความเปรี้ยวที่อร่อยแตกต่างจากสิ่งที่ให้ความเปรี้ยวชนิดอื่น ๆ เพราะว่านอกจากจะเปรี้ยวแล้วยังมีกลิ่นหอมของน้ำมะนาวแบบธรรมชาติ ทำให้รสชาติของเมนูอาหารแต่ละเมนูแซบขึ้นไปอีก และอีกทั้งผิวของมะนาวที่ดูเหมือนว่าจะไม่มีประโยชน์ใดใดเลย ก็ยังสามารถนำมาทำเป็นสมุนไพรไล่แมลง มะนาวลูกเดียวมีประโยชน์และสรรพคุณต่าง ๆ มากมายกว่าที่คิด แถมยังเป็นที่ต้องการของตลาดมาก ๆ อีกด้วย

มะนาว

มะนาว

มะนาวเป็นที่ต้องการของตลาด ยิ่งบางช่วงฤดูกาลมะนาวจะยิ่งมีราคาแพงขึ้นมาก ๆ ชาวสวนที่ว่างงานมีพื้นที่มากเพียงพอที่จะปลูกอะไรบางอย่างได้ ก็เลือกลงทุนที่จะปลูกมะนาว เพราะมะนาวสามารถขายได้ราคาดี ผลออกง่าย เป็นสินค้าที่เป็นที่ต้องการมาก ๆ ซึ่งการปลูกมะนาวนั้นไม่ใช่เรื่องยากเลย เพราะบางครอบครัวบางบ้านก็ปลูกมะนาวเอาไว้ที่บ้านอยู่แล้ว ถึงแม้จะไม่ได้ปลูกเป็นสวนใหญ่ อาจจะแค่หนึ่งต้นหรือสองต้น ถ้าได้รับการดูแลเป็นอย่างดีก็สามารถกินผลได้ตลอดทั้งปีเลยทีเดียว วันนี้เกษตรอีสานจะมาแนะนำวิธีการปลูกมะนาวในวงบ่อปูนซีเมนต์กัน

มะนาวสารพัดประโยชน์

มะนาวสารพัดประโยชน์

การคัดเลือกพันธุ์มะนาว

  • เตรียมสายพันธุ์มะนาวที่เราต้องการปลูก สายพันธุ์ใดก็ตามที่ให้ลูกดกและเป็นที่ต้องการของตลาดจะขายออกได้ดีมาก ทั้งแบบกิ่งตอนและแบบกิ่งชำ แล้วแต่วิธีการปลูกมะนาวของแต่ละท่านว่าจะใช้กิ่งแบบไหนเพื่อการปลูกและขยายพันธุ์ต่อไป
  • เลือกสายพันธุ์ที่ทนต่อโรค ทนต่อแมลง ออกดอกและติดผลง่าย
  • มะนาวทุกสายพันธุ์สามารถบังคับให้ออกลูกนอกฤดูกาลได้
  • มะนาวพันธุ์พิจิตร 1 และมะนาวแป้นรำไพ มะนาวแป้น มะนาวไข่ มะนาวหนัง มะนาวพันธุ์เหล่านี้ก็นิยมนำมาปลูกเช่นกัน
การคัดเลือกพันธุ์มะนาว

การคัดเลือกพันธุ์มะนาว

การเตรียมดินปลูกมะนาว

  • ดินที่ต้องเตรียมสำหรับการปลูกมะนาวก็คือ ดินร่วน มูลสัตว์ เศษใบไม้ กากถั่วเขียว เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำให้ดินดี เป็นปุ๋ยธรรมชาติช่วยให้ต้นมะนาวเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี
  • หลายท่านอาจจะสงสัยว่าการปลูกมะนาวนั้นทำไมต้องใช้วงบ่อปูนซีเมนต์ในการปลูกมะนาว เหตุผลก็เพราะว่าเมื่อต้นมะนาวโตขึ้น รากของต้นมะนาวก็จะขยายต่อไปเรื่อยๆ การใช้วงบ่อปูนซีเมนต์เพื่อจำกัดการขยายไปเรื่อยๆของรากต้นมะนาว ต้นมะนาวก็จะดูดซึมน้ำและปุ๋ยได้ดีทำให้ออกผลดก เพราะว่าทั้งน้ำและปุ๋ยที่เราใส่เข้าไปก็จะยังคงอยู่ในอาณาเขตของวงบ่อปูนซีเมนต์ ทำให้ต้นมะนาวโตเร็ว
  • ดินที่ถูกผสมมาแล้ว ทั้งมูลสัตว์ กากถั่วเขียว เศษใบไม้ เมื่อนำลงวงบ่อปูนซีเมนต์แล้ว ให้ถมเป็นหลังเต่าในลักษณะนูนเลยขึ้นขอบวงบ่อ เพื่อที่จะเผื่อเอาไว้เวลารดน้ำ เพราะหน้าดินจะยุบลงไปได้อีก
  • อัตราดินร่วน 3 ส่วน ต่อปุ๋ยหมัก 2 ส่วน หรืออัตราดินร่วน 3 ส่วน ต่อปุ๋ยคอก 1 ส่วน
การเตรียมดินปลูกมะนาว

การเตรียมดินปลูกมะนาว

ใบไม้แห้งผสมดินปลูกมะนาว

ใบไม้แห้งผสมดินปลูกมะนาว

การเตรียมวงบ่อปูนซีเมนต์ปลูกมะนาว

  • วงบ่อซีเมนต์ที่จะใช้ในการปลูกมะนาว ควรมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 80 – 100 เซนติเมตร และมีแผ่นซีเมนต์ปิดที่ด้านล่างของบ่อ เพื่อป้องกันรากของมะนาวลงดิน แต่ไม่ต้องปิดด้วยปูน เพื่อให้ระบายน้ำได้ดี
  • ระยะห่างของวงบ่อปูนซีเมนต์แต่ละบ่อควรห่างกัน 1.5 เมตร หรือ 2 เมตร
วงบ่อปูนซีเมนต์

วงบ่อปูนซีเมนต์

ฝาปิดบ่อ

ฝาปิดบ่อ

วิธีการปลูกมะนาว

  • ขุดหลุมเล็ก ๆ ตรงกลาง แล้วนำต้นมะนาวมาปลูกแล้วกลบดิน
  • นำไม้มาปักหลักและผูกกับต้นมะนาวเพื่อป้องกันไม่ให้ต้นมะนาวล้ม
  • นำเศษหญ้าหรือฟางแห้งคลุมดิน
  • รดน้ำให้ชุ่มแต่ไม่ถึงกับขัง
การเตรียมวงบ่อซีเมนต์

การเตรียมวงบ่อซีเมนต์

วิธีการปลูกต้นมะนาว

วิธีการปลูกต้นมะนาว

ปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์

ปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์

การบำรุงและดูแลมะนาวหลังปลูก

  • การรดน้ำให้มะนาว หลังจากปลูกแล้วควรมีการรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ โดยสังเกตไม่ให้แห้งหรือแฉะมากเกินไป อาจจะใช้ระบบน้ำหยด หรือสปริงเกอร์ก็ได้
  • การใส่ปุ๋ยให้มะนาว ควรใส่ปุ๋ยคอกที่ย่อยสลายแล้วหรือปุ๋ยหมัก ในช่วงบังคับออกดอกออกผลใช้ปุ๋ย 12-24-12 ประมาณ 1 ช้อนแกง และรดน้ำเพื่อละลายทุกครั้งที่มีการใส่ปุ๋ย
  • การตัดแต่งกิ่ง ควรตัดแต่งกิ่งที่ไม่สมบูรณ์ กิ่งที่ไม่เป็นระเบียบที่ซ้อนกันหลาย ๆ กิ่ง และตัดแต่งรอบพุ่มต้นมะนาว
  • ทำไม้ค้ำกิ่งเพื่อให้น้ำหนักของลูกมะนาวโน้มจนทำให้กิ่งฉีกเสียหาย
การรดน้ำมะนาว

การรดน้ำมะนาว

การป้องกันแมลงและศัตรูของมะนาว

โดยปกติแล้วการปลูกมะนาวก็มักจะมีศัตรูพืชหรือว่าแมลงเข้ามารบกวนอยู่บ่อยครั้ง หนอน เพลี้ย แก้ได้ด้วยการผสมยาในกระบอกฉีดเล็กๆเท่านั้นเพื่อเป็นการกำจัดศัตรูพืชเหล่านั้นให้หมดไปและที่สำคัญการปลูกมะนาว ควรปลูกให้ต้นมะนาวอยู่ในระยะห่างที่พอดีกันด้วยเช่นเดียวกัน

  • โรคแคงเกอร์ เกิดจากแบคทีเรีย ทำให้ผลและใบเป็นสะเก็บแห้งสีน้ำตาล ป้องกันโดยตัดกิ่ง ใบ และผลที่เป็นโรคออกไป และเผาทำลาย และไม่ขยายพันธุ์จากต้นที่เคยเป็นโรคแคงเกอร์
  • โรคยางไหล เกิดจากเชื้อรา การขาดน้ำ และขาดธาตุอาหาร อาการคือจะมียางไหลออกตามรอยแตกของเปลือก ควรตัดแต่งส่วนที่เป็นโรคออก และไม่ขยายพันธุ์จากต้นที่เป็นโรค
  • โรครากและโคนเน่า เกิดจากปลูกมะนาวลึกเกินไป หรือมีน้ำขังในบ่อปูนที่ปลูก
  • หนอนชอนใบ หนอนกินใบ เพลี้ยไฟ  ทำให้ใบมะนาวงอหงิกและต้นแคระแกร็น แมลงเหล่านี้จะต้องถูกกำจัดออกจากต้นเพื่อไม่ให้ลามไปต้นอื่น ๆ
หนอนชอนใบ

หนอนชอนใบ

โรคแคงเกอร์

โรคแคงเกอร์

เทคนิคการปลูกมะนาวนอกฤดูกาล

  • ช่วงเดือนกรกฎาคมบำรุงต้นให้สมบูรณ์
  • ตัดรากมะนาวบริเวณโคนต้นที่งอกลงดินให้หมด
  • เติมวัสดุผสมดินให้ในบ่อให้เต็ม และคลุมพลาสติกเพื่อป้องกันน้ำเข้าบ่อซีเมนต์
  • งดให้น้ำจนมะนาวมีใบเหี่ยว และให้ใบร่วงประมาณ 1 ใน 5 ของต้น
  • นำพลาสติกออก แล้วใส่ปุ๋ย 8-24-24 หรือ 15-15-15 ประมาณ 1 ช้อนแกง แล้วรดน้ำจนชุ่ม
  • ดูแลตามปกติจนมะนาวออกดอกและติดผล ประมาณเดือนกันยายน-ตุลาคม
การปลูกมะนาวในวงบ่อปูนซีเมนต์

การปลูกมะนาวในวงบ่อปูนซีเมนต์

วิธีบังคับไม่ให้มะนาวออกลูก

การบังคับไม่ให้ต้นมะนาวออกลูกตามฤดูกาล เพื่อป้องกันราคามะนาวตกต่ำตามผลผลิตที่มีมาก และช่วยให้ต้นมะนาวมีความสมบูรณ์ เนื่องจากไม่ต้องนำสารอาหารไปเลี้ยงลูกมะนาว และจะเป็นการเตรียมสภาพต้นมะนาวให้มีความสมบูรณ์เพื่อที่จะออกดอกติดผลในช่วงนอกฤดูกาล ซึ่งช่วงนั้นมะนาวจะมีราคาสูง

  • เด็ดดอกและลูกมะนาวที่ติดทิ้ง
  • พ่นสารทางใบเพื่อยับยั้งไม่ให้ต้นมะนาวออกดอก
  • สารที่ใช้คือ สารเอทธีฟอน ความเข้มข้น 200 มิลลิกรัมต่อลิต (ppm)
  • พ่นบริเวณช่อดอกและผลอ่อนที่มีความหนาแน่น
  • ควรพ่นในช่วงเช้าหรือเย็นที่ไม่มีแสงแดดจัด
  • ควรปรึกษาเกษตรอำเภอ หมอดิน หรือผู้ที่มีความรู้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายต่อต้นมะนาว

แหล่งอ้างอิง:

ประกาศซื้อขายพันธุ์มะนาว และอุปกรณ์การปลูกมะนาว ฟรี ที่เว็บบอร์ดอีสานร้อยแปดดอทคอม


ขอแสดงความนับถือ

กองบรรณาธิการ
เว็บไซต์อีสานร้อยแปด ทุกเรื่องราวของชาวอีสาน